คลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น หนุน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงงูจงอางบ้านโคกสง่า แผนกสมุนไพร พัฒนาน้ำมันหอมระเหย ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำมันหอมระเหยและได้รับการรับรองและอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำมันหอมระเหย

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 จังหวัดขอนแก่น โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นได้ให้ใบรับรองเพื่อแสดงว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงงูจงอางบ้านโคกสง่าแผนกสมุนไพร ได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกับ น้ำมันหอมระเหย มาตรฐานเลขที่ มผช.668/2548 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง น้ำมันหอมระเหย ผสมกลิ่นอบเชย
โดยความสำเร็จในครั้งนี้ ผศ.ดร.อาดา รัยมธุรพงษ์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น และ ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มอบ อาจารย์ปริญญวัตร ทินบุตร พร้อมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน จากวิทยาเขตขอนแก่น ลงพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงงูจงอางบ้านโคกสง่าแผนกสมุนไพรสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และคณะกรรมการดำเนินงานที่ประกอบไปด้วยคณาจารย์ผู้มีองค์ความรู้ได้ลงพื้นที่อบรมเชิงปฏิบัติการ ฯ ให้ความรู้แก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ในช่วงเวลา พฤศจิกายน – ธันวาคม 2564 ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงงูจงอางบ้านโคกสง่าแผนกสมุนไพร ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น การดำเนินโครงการ ฯ ยังได้รับการสนับสนุนจาก อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 และสำนักอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น
การอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ เสมือนเป็นการเตรียมความพร้อมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ ได้มีองค์ความรู้ และสามารถดำเนินการยื่นขอ มผช.ได้ จึงเน้นการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ อาจารย์ปริญญวัตร ทินบุตร บรรยายเกี่ยวกับกระบวนการเข้าสู่มาตรฐาน มผช. อาจารย์พินิจ ณรงค์ศักดิ์ อาจารย์สิทธิศักดิ์ อันทะผาลา บรรยายเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมชุมชน อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีเดชาวัต มั่นกลาง บรรยายเกี่ยวกับกระบวนการผลิตตามมาตรฐาน GMP./อย./ HACCP ผศ.วิญญู สมอหมอบ บรรยายเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตเพื่อวิสาหกิจชุมชน เมื่อกลุ่มวิสาหกิจมีความพร้อมจึงได้ดำเนินการขอ มผช. และได้รับความสำเร็จดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค และสร้างรายได้ให้พี่น้องกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ ที่ผลิตสมุนไพรดังกล่าวสามารถจำหน่ายสินค้าดีมีคุณภาพ เพิ่มรายได้ ยกระดับเศรษฐกิจในครัวเรือนและสามารถสร้างโอกาสดำเนินธุรกิจแข่งขันในตลาดยาสมุนไพรได้ต่อไป

ข่าว : ทัศนีย์ เรืองวงศ์วิทยา
ภาพ : คณะทำงาน
กราฟิก : พิมพ์ชนก กุลเพ็ง

https://www.facebook.com/Rmutikhonkaen/posts/4894327593967223