
ราชมงคลขอนแก่น ร่วมเสวนาพิเศษ “รูปธรรมของการบูรณาการ คำตอบของการพัฒนาเมือง”
วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม 2565 เวลา 15.30 น. ณ ห้องมงกุฎเพชร โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยอาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น เข้าร่วมงานการพัฒนา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และเศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG) หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 และได้รับเชิญเป็นวิทยากรเสวนาพิเศษ “รูปธรรมของการบูรณาการ คำตอบของการพัฒนาเมือง” แก่หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 โดยมี นายณัฐกร ศรีนวกุล เลขานุการนายกเทศมนตรี, รองปลัดเทศบาล (นางอารีย์ สุรารักษ์, นายภาษิต ชนะบุญ), นายพิสุทธิ์ อนุตรอังกูร นายกเทศมนตรีตำบลท่าพระ, รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.), ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์, สงขลา, พิษณุโลก, ราชบุรี, ชัยภูมิ, นนทบุรี และขอนแก่น เข้าร่วมรับฟังการบรรยายครั้งนี้ ซึ่งมีผู้ร่วมบรรยาย คือ นายกังวาน เหล่าวิโรจนกุล ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด และนายเจริญลักษณ์ เพ็ชรประดับ นายกสมาคมสื่อมวชนขอนแก่นและเลขามูลนิธิขอนแก่นทศวรรษหน้า เป็นผู้ดำเนินรายการ
การศึกษาดูงานการพัฒนา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และเศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG) หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8 – 10 ธันวาคม 2565 ด้วยมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนทุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (FLAGSHIP) “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” โปรแกรมที่ 15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ ในการจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (ทม.ส.) รุ่นที่ 1 เพื่อยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยกลไกความรู้ และความร่วมมือระดับประเทศผ่านการปฏิบัติการบนฐานงานวิจัยในประเด็นปฏิบัติการ พัฒาระบบและกลไกการนำข้อมูลมาสร้างมูลค่าและคุณค่า เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และการพัฒนาองค์ความรู้และกลไกการเปลี่ยนแปลงองค์กรกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัลอย่างเหมาะสม พัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน (Green Economy & BCG) พัฒนาเศรษฐกิจบนฐานของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Economy) และการพัฒนารายได้ใหม่และกลไกการเงินใหม่ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Finnancial Machanism & Special Purpose Vehicle) ดังนั้น มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนทุนการวิจัยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับ Khon Kaen Innovation Center จึงได้กำหนดจัดกิจกรรม Isan BCG Expo 2022 งานมหกรรมนวัตกรรมยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอีสานและครั้งแรกในประเทศ เพื่อแสดงถึงศักยภาพแห่งนวัตกรรมและความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของภาคอีสาน ส่งเสริมการเรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับให้ทุกมิติเติบโต พร้อมผลักดันโมเดลเศรษฐกิจสู่การเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ยกระดับเทคโนโลยีทางการเกษตร อาหาร ตลอดจนการท่องเที่ยวและเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่การพัฒนาท้องถิ่นทั่วทุกภูมิภาค
ข่าว : ศันสนีย์ ไชยเพีย
ภาพ : คณะทำงาน
กราฟิก : รัตนาวดี ประกายแก้ว