ช่างกลโรงงาน ครุศาสตร์อุตสาหกรรม จัดประกวดผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์

🔶🔹 ช่างกลโรงงาน ครุศาสตร์อุตสาหกรรม จัดประกวดผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ 🔸🔷

✨ วันพุธที่ 8 มีนาคม 2566 อาจารย์ประพันธ์ ยาวระ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มอบโปรแกรมวิชาช่างกลโรงงาน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จัดโครงการประกวดผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ที่ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชา 30-207-114-201 โครงการช่างกลโรงงาน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประจำภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยมี อาจารย์โยธิน สุริยมาตร อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาช่างกลโรงงานเป็นผู้สอนในรายวิชานี้

🏷 อาจารย์โยธิน สุริยมาตร เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ตรงในการทำงานในตำแหน่งผู้จัดการของหลาย ๆ บริษัท และยังเป็นที่ปรึกษาบริษัทเอกชน ให้ผู้ประกอบการหลายแห่ง จึงได้นำประสบการณ์มาปรับใช้ในกระบวนการเรียนการสอน รายวิชาโครงการช่างกลโรงงาน โดยต้องการให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่ได้เรียนในหลักสูตร ปวส.2 มาบูรณาการวางแผนการทำโครงงาน แต่การทำโครงงานนั้น จะเน้นให้นักศึกษาคำนึงถึงโครงการที่สามารถนำไปแก้ปัญหาและใช้ประโยชน์ได้จริง และสามารถนำแนวคิดดี ๆ นำเสนอผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการสนใจและยินดีสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ จึงทำให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะครบทุกด้านและเกิดประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบัติ และสามารถนำไปต่อยอดในการศึกษาหรือการทำงานต่อไปได้ในอนาคต โดยนักศึกษาจะจับกลุ่มกัน กลุ่มละ 3-4 คน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานเป็นผู้ให้คำแนะนำ

🌱 กิจกรรมการประกวดผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์นี้จัดขึ้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการนำเสนอผลงานของนักศึกษา ในเทอมนี้ มีโครงการจำนวน 10 ผลงาน ได้แก่ เครื่องมัดไส้กรอกกึ่งอัตโนมัติ เครื่องสับและผสมอาหารสัตว์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ เครื่องทดสอบการสึกหรอของใบมีดตัดอ้อย เครื่องปั้นขนมบัวลอย เครื่องกรอกข้าวเปลือก เครื่องอัดเม็ดอาหารสัตว์ เครื่องห่อขนมคอเป็ด เครื่องตัดมันสำปะหลังต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ เครื่องเลื่อยแผ่นไม้ภาคสนาม เครื่องย่อยใบไม้แห้งโดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ประสาท ภูปรื้ม อาจารย์ ดร.ภูริพัส แสนพงษ์ อาจารย์ ดร.พีรวิทย์ โชคเหมาะ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคณะกรรมการตัดสิน ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษานำเสนอผลงานทั้งในรูปแบบบรรยาย วีดีโอการทำงานของเครื่องที่นำไปใช้ในพื้นที่จริง กรรมการทุกท่านได้สอบถามประเด็นการทำงานของเครื่อง และปัญหาที่พบ และยังให้องค์ความรู้ตลอดจนแนวคิดทักษะด้านงานวิศวกรรมแก่นักศึกษา เพื่อนำไปปรับใช้กับผลงานได้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น กิจกรรมในวันนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของความเข้มแข็งทางวิชาการของนักศึกษาและบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจาก มทร.อีสาน สมดังปณิธาน มหาวิทยาลัยฯ สร้างคนสู่งานเชี่ยวชาญเทคโนโลยี

🖋 ข่าว : ทัศนีย์ เรืองวงศ์วิทยา
ภาพ : คณะทำงาน
กราฟิก : รัตนาวดี ประกายแก้ว

https://www.facebook.com/Rmutikhonkaen/posts/pfbid0e2Vp6queK8mHoz2dcRkxbvUc5BK5n4Q9y1TD996bcufiiFxbEEagoijyPFTAnHVl