ราชมงคลขอนแก่น ผนึกกำลังนักศึกษาสองสถาบัน เพื่อออกแบบและสร้างสถานีตรวจสอบสภาพอากาศ เพื่อโลกนี้ที่ยั่งยืน

🔶🔹 ราชมงคลขอนแก่น ผนึกกำลังนักศึกษาสองสถาบัน เพื่อออกแบบและสร้างสถานีตรวจสอบสภาพอากาศ เพื่อโลกนี้ที่ยั่งยืน 🔸🔷

✨ วันพุธที่ 29 มีนาคม 2566 ณ FAB LAB อาคาร 50 ปี เทคนิค ไทย – เยอรมัน ขอนแก่น อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น อาจารย์บุญกิจ อุ่นพิกุล ผู้ช่วยอธิการบดี อาจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ ชามงคลประดิษฐ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.อารีรัตน์ เชื้อบุญเกิด โนท คณบดีคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มอบหมายให้ อาจารย์ ดร.ครรชิต รองไชย สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล และอาจารย์ ดร.จักรพนธ์ อบมา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ พร้อมคณาจารย์ดังนี้ อาจารย์อภิศักดิ์ หาญพิชาญชัย อาจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ เถื่อนแก้วสิงห์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ อาจารย์ ดร อติราช สุขสวัสดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้ร่วมกันทำกิจกรรมกับนักศึกษา Carl-Severing-Berufskolleg (CSB), Bielefeld Germany ทั้งการเรียนรู้ด้านทฤษฎีและการปฏิบัติการ

🏷 โดย อาจารย์ ดร. ครรชิต รองไชย เปิดเผยว่า ในปีนี้โครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างทั้งสองสถาบัน เน้นกิจกรรมบริการวิชาการนักศึกษาของทั้งสองสถาบันจะฝึกอบรมการออกแบบและสร้างชุดตรวจสอบสภาพอากาศและฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเราได้รับคำแนะนำจากศูนย์อนามัย ที่ 7 ในเรื่องของพื้นที่อำเภอน้ำพองที่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น และปัจจุบันสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจึงอยากให้โครงการนี้ฯ ได้ออกแบบและสร้างชุดตรวจสอบสภาพอากาศไม่เฉพาะ PM 2.5 และสามารถแสดงผลได้ชัดเจนสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ได้ครอบคลุมทุกกลุ่ม และสามารถเก็บเป็นข้อมูลเชื่อมโยงไปยังระดับประเทศและสากลต่อไป

✨ เพื่อให้เกิดการตระหนักถึงศตวรรษที่ 21 ที่โลกเราต้องอยู่แบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นผู้ออกแบบชุดตรวจสอบ และสาขาวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาช่วยวางแผนออกแบบการนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจและสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งนักศึกษาทั้ง 3 คณะได้ร่วมกลุ่มทำงานกับนักศึกษาจาก (CSB) เพื่อออกแบบและสร้างสถานีตรวจสอบสภาพอากาศ เพื่อโลกนี้ที่ยั่งยืน ก่อนนำไปใช้ติดตั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกสูง อำเภอน้ำพอง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยเสือเต้น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ต่อไป

🌱 อาจารย์อภิศักดิ์ หาญพิชาญชัย ผู้สังเกตบรรยากาศการทำกิจกรรม ได้ให้ข้อมูลว่า นักศึกษาทั้งสองสถาบันสามารถปรับตัวเข้ากันได้เป็นอย่างดีตามวัย นักศึกษา CSB นั้นให้ความตระหนักเรื่องของความปลอดภัยมาเป็นอันดับ 1 จะสอบถามเรื่องระบบความปลอดภัยในอุปกรณ์ก่อนการลงมือปฏิบัติ กล้าซักถามแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ผู้ดูแล ส่วนนักศึกษาไทยนั้นมีความคิดสร้างสรรค์มีความมั่นใจ มีทักษะการแลกเปลี่ยนด้านภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

📝 ด้าน Mr.Str Michael Schonfeld และ Ms.OStRin Christina Meisohle ซึ่งเป็นคณาจารย์จาก CSB ได้เปิดเผยความรู้สึกว่า รู้สึกดีใจที่สถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น ทำให้กลับมาเชื่อมโยงโครงการฯ ได้อีกครั้ง และดีใจทุกครั้งที่มาที่นี่ ความรักความผูกพันระหว่างคณะผู้บริหารและคณาจารย์ที่นี่เปรียบเสมือนครอบครัวเดียวกัน ในแต่ละปีมีนักศึกษา CSB ที่อยากเข้าร่วมโครงการหลายคน และทุกคน ทุกรุ่นที่มาล้วนชื่นชอบและรักประเทศไทย ขอบคุณคณะผู้บริหาร คณาจารย์ที่ดูแลโครงการและกิจกรรมเป็นอย่างดี

🛠 สำหรับบรรยากาศของการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาทั้งสองสถาบันมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการและมีการบูรณาการการเรียนการสอนระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจฯ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาทั้งวิชาการและการทำงานร่วมกัน ฝึกทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ อันจะเป็นผลดีแก่นักศึกษาเพื่อความเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์แบบในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

🖋 ข่าว : ทัศนีย์ เรืองวงศ์วิทยา
ภาพ : อาจารย์อภิศักดิ์ หาญพิชาญชัย
กราฟิก : รัตนาวดี ประกายแก้ว

https://www.facebook.com/Rmutikhonkaen/posts/pfbid05K7Br6F2QFxdKqLtnsBobV2DQdCTfFTNqp1sFStz1X5qZfgfpwZ9bjP2fXYSEvzGl