ราชมงคลขอนแก่น ลงพื้นที่ติดตั้งชุดตรวจสอบสภาพอากาศ

🔶🔹 ราชมงคลขอนแก่น ลงพื้นที่ติดตั้งชุดตรวจสอบสภาพอากาศ 🔸🔷

✨ วันอังคารที่ 4 เมษายน 2566 อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดี ประจำวิทยาเขตขอนแก่น อาจารย์บุญกิจ อุ่นพิกุล ผู้ช่วยอธิการบดี อาจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ ชามงคลประดิษฐ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.อารีรัตน์ เชื้อบุญเกิด โนท คณบดีคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มอบ อาจารย์ ดร.ครรชิต รองไชย อาจารย์อภิศักดิ์ หาญพิชาญชัย อาจารย์ ดร.สุรเชษฐ เถื่อนแก้วสิงห์ นำนักศึกษา Carl-Severing- Berufskolleg, (CSB) Bielefeld Germany ลงพื้นที่โครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันทั้งในและต่างประเทศ กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนความรู้อาจารย์และนักศึกษาชาวต่างประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ นักศึกษา CSB

🌱 กิจกรรมวันนี้ คือนำชุดตรวจสอบสภาพอากาศและฝุ่น PM 2.5 ออกไปติดตั้ง ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านโคกสูง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านห้วยเสือเต้น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นการบริการทางวิชาการให้กับชุมชนให้นักศึกษาของทั้งสองสถาบันได้มีส่วนร่วมในการใช้ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน โดยอาจารย์ ดร.ครรชิต รองไชย ได้แนะนำการใช้งานชุดตรวจสอบสภาพอากาศให้คุณครูที่ศูนย์ได้ทราบระบบการใช้งาน และแนะนำให้คุณครูได้สอนการอ่านสัญลักษณ์ให้เด็ก ๆ ที่ศูนย์ได้รู้จักและคุ้นเคยในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในอนาคต

🏷 อาจารย์อภิศักดิ์ หาญพิชาญชัย และ อาจารย์ ดร.อติราช สุขสวัสดิ์ ได้เปิดเผยว่า การสร้างชุดตรวจสอบสภาพอากาศที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างนักศึกษาทั้งสองสถาบันที่ใช้เวลาเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติกว่าสัปดาห์นั้น จะเห็นได้ถึงความมุ่งมั่นของนักศึกษา CSB ที่ใส่ใจรายละเอียด ตั้งแต่การดีไซน์รูปแบบ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ความปลอดภัยของเครื่องมือ ความปลอดภัยของผู้ใช้งานที่เป็นเด็กเล็ก สังเกตเห็นได้ว่า มีความน่ารักที่แฝงอยู่ในชุดตรวจสอบสภาพอากาศ อีกทั้งนักศึกษา CSB นั้น บางคนผ่านการทำงานและมาศึกษาเพิ่มเติม จะทำให้มีการทำงานที่เรียบร้อย คำนึงถึงคุณภาพของผลงาน ส่วนที่กำลังศึกษาอยู่ก็จะมีบุคลิกลักษณะคล้ายนักศึกษาไทยที่ยังต้องฝึกฝนและปรับตัวเข้ากับหน้าที่ความรับผิดชอบ และยังมองว่า โครงการฯ นี้เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาทั้งสองสถาบัน เกิดการเรียนรู้การทำงานเป็นทีม การวางแผนและการสนับสนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนงานสำเร็จและนำติดตั้งในพื้นที่ได้สำเร็จ สอดคล้องกับโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เราต้องอยู่แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การศึกษาต้องสร้างให้เยาวชนแสวงหาความรู้ ด้วยตนเอง มีทักษะการเรียนรู้ การทำงานการแก้ปัญหา การสื่อสารและความร่วมมือการทำงาน สร้างให้รู้จักคิดและสร้างให้เป็นมนุษย์ที่มีความเข้าใจในวิถีชีวิตของแต่ละปัจเจกและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

🖋 ข่าว : ทัศนีย์ เรืองวงศ์วิทยา
ภาพ : อาจารย์อภิศักดิ์ หาญพิชาญชัย
กราฟิก : รัตนาวดี ประกายแก้ว

https://www.facebook.com/Rmutikhonkaen/posts/pfbid02V1dPqXZ89PY77V4YDYJ3RyFfxgK81rbTpe4XFvyCA98GxKw9TfPTfcdg6ou8pZYsl