คณะศึกษาดูงาน MIT พบรองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น ประสานความร่วมมือการพัฒนาเมืองขอนแก่น Smart city

🔷🔸 คณะศึกษาดูงาน MIT พบรองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น ประสานความร่วมมือการพัฒนาเมืองขอนแก่น Smart city 🔹🔶

✨ วันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 14.00 น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยอาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.ไพวรรณ เกิดตรวจ หัวหน้าโครงการวิจัย ให้การต้อนรับ Mr.Andrew Stokols นักศึกษาปริญญาเอก จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ Massachusetts Institute of Technology เดินทางเยือนวิทยาเขตขอนแก่น พบปะคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เพื่อรับฟังข้อมูลความร่วมมือการพัฒนาเมืองขอนแก่น Smart city ได้รับเกียรติจาก นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ที่ปรึกษาโครงการวิจัยรถไฟฟ้าระบบรางเบาต้นแบบนำเสนอ KHONKAEN model Clear Care Fair Share ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท พัฒนาเมืองขอนแก่น (เคเคทีที) จำกัด พร้อมด้วย นายธวัชชัย วนาพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการส่วนควบคุมการก่อสร้างอาคารและผังเมือง เทศบาลนครขอนแก่น นำเสนอโครงการพัฒนาเมืองขอนแก่นเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ Smart City ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและบริษัทวิสาหกิจของเทศบาล พร้อมทั้งนำเยี่ยมชม Tram รุ่น Hiroden-907 ที่ได้รับมอบจากเทศบาลนครฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น และรางตัวอย่างเพื่อใช้ทดสอบการวิ่งและการใช้งานขบวนรถรางไฟฟ้าต้นแบบ ณ DEPOT โรงจอดและซ่อมบำรุงรถ Tram และ LRT ของคณะวิศวกรรมศาสตร์

🏷 Mr. Andrew Stokols นักศึกษาปริญญาเอกจาก สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ Massachusetts Institute of Technology ได้มีความสนใจเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเมืองขอนแก่น Smart city ซึ่งเป็นโมเดลการพัฒนาเมืองผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จังหวัดขอนแก่นมุ่งมั่นผลักดันให้เป็นฐานในการผลิตรถไฟ โดย มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงานในการร่วมขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมืองขอนแก่นเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ Smart City อีกทั้งมีหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องด้านระบบราง ตลอดจนงานวิจัยด้านนวัตกรรมระบบราง ซึ่ง มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ได้ส่งอาจารย์ไปอบรม ศึกษาต่อในและต่างประเทศที่เป็นต้นแบบของเทคโนโลยีระบบรถไฟไม่ว่าเป็นประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ พร้อมทั้งเปิดหลักสูตรวิศวกรรมระบบรางที่ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร ในหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าโยธาระบบราง วิศวกรรมเครื่องกลระบบราง และวิศวกรรมไฟฟ้าระบบราง เพื่อผลักดันให้เกิดช่างเทคนิคด้านระบบรางที่มีความเชี่ยวชาญสูง โดยเน้นการพัฒนาตนเองของนักเรียนนักศึกษาจากการเรียนการสอนในรูปแบบ ไทย – เยอรมัน

🖋 ข่าว : ศันสนีย์ ไชยเพีย
ภาพ/กราฟิก : รัตนาวดี ประกายแก้ว

https://www.facebook.com/Rmutikhonkaen/posts/pfbid0TmAzbsDvqeJP3Q65jnCneMErfWXqgTsVWwhAwTcTpkBeQa7iETbVd58GiHaMkj5Zl