ราชมงคลขอนแก่น จัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการตีมีดแบบโบราณเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการตีมีดของกลุ่มตีมีดม่วงหวาน

🔶🔹 ราชมงคลขอนแก่น จัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการตีมีดแบบโบราณเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการตีมีดของกลุ่มตีมีดม่วงหวาน 🔸🔷

✨ วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 อาจารย์ประพันธ์ ยาวระ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มอบ ผศ.ดร.วิรัช ชินพลอย รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการตีมีดแบบโบราณเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการตีมีดของกลุ่มตีมีดม่วงหวาน โดยมีอาจารย์ปริญญวัตร ทินบุตร หัวหน้าโครงการฯ เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดโครงการ ณ ห้องประชุมประดู่ทอง

🌱 โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการตีมีดแบบโบราณฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการตีมีดและการชุบแข็งมีดแบบโบราณได้อย่างถูกวิธี อีกทั้งเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาให้กับประชาชนรวมถึงเยาวชนคนรุ่นใหม่ในท้องถิ่นได้เห็นคุณค่าและรักษาไว้ซึ่งของดีของชุมชน สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม โดยมีกิจกรรมการบรรยาย การนำลงพื้นที่ชุมชนใช้กลยุทธ เข้าใจ เข้าถึง จึงพัฒนา การประยุกต์งานโลหะวิทยา การชุบแข็งเหล็กกล้าแบบพาลอง พาลุ้น พาทำ การพัฒนาด้วยการนำพาสู่มาตรฐาน มผช. การสร้างความปลอดภัยในการทำงาน เทคนิคการขึ้นรูปมีด การขึ้นรูปมีดแบบโบราณ การตกแต่งมีด การสวมด้ามมีด โดยทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ประกอบด้วย อาจารย์ปริญญวัตร ทินบุตร อาจารย์ ดร.มานพ ดอนหมื่น และ อาจารย์ ดร.ภูริพัส แสนพงษ์

🌳 ทั้งนี้ คณาจารย์นักวิจัย มทร.อีสาน ได้ลงพื้นที่เกาะติดชุมชนดำเนินงานร่วมกับชุมชนมาตั้งแต่ปี 2554 เริ่มจากการเป็นลูกค้าอุดหนุนมีด การลงพื้นที่สังเกตการณ์ การสอบถามกระบวนการตีมีด สอบถามปัญหาที่พบในการตีมีด รวมทั้งร่วมกับปราชญ์ชุมชนคิดค้นวิธีการ เพื่อหาเทคนิคช่วยแก้ไขปัญหา การจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มตีมีด จนเกิดเป็นความร่วมมือที่ดีระหว่าง มทร.อีสาน และกลุ่มตีมีด จนสามารถนำผลิตภัณฑ์มีดม่วงหวานผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สร้างความภาคภูมิใจให้กลุ่มตีมีดม่วงหวานเป็นอย่างยิ่ง

🖋 ข่าว : ทัศนีย์ เรืองวงศ์วิทยา
ภาพ/กราฟิก : รัตนาวดี ประกายแก้ว

https://www.facebook.com/Rmutikhonkaen/posts/pfbid02EWbj8VVqpRCAWAwMhyFK6V8nggaEbmqHFSEhVbzAscfvH27LeJ2nKMXWW9xtxkGXl