มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น จัดกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ พร้อมที่จะก้าวไปสู่ตลาดในระดับนานาชาติ

มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น จัดกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ พร้อมที่จะก้าวไปสู่ตลาดในระดับนานาชาติ

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุมนวราชมงคล ชั้น 3 อาคาร 50 ปี เทคนิค ไทย – เยอรมัน ขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดย ผศ.ประพันธ์ ยาวระ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น ให้การต้อนรับนายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ในโอกาสให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการสร้างโอกาสทางธุรกิจการค้าในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ กิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการ โดยมี นายศารุมภ์ โหม่งสูงเนิน พาณิชย์จังหวัดขอนแก่น อาจารย์ ดร.เครือวัลย์ มาลาศรี นักวิจัย มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตขอนแก่น พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 150 คน โดยได้รับการสนับสนุนคณาจารย์นักวิจัยและสถานที่ในการจัดกิจกรรม จาก มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

นายศารุมภ์ โหม่งสูงเนิน พาณิชย์จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น มุ่งหวังให้มีศักยภาพพร้อมที่จะก้าวไปสู่ตลาดในระดับนานาชาติได้ ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ เป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ให้กลุ่มเป้าหมายมีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจโดยการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความสำคัญในนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้มีศักยภาพรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่เกิดการขยายตัวของการลงทุน พัฒนาฐานการผลิตและบริการในอุตสาหกรรมการเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจชุมชน ในการพัฒนาและสร้างโอกาสทางธุรกิจการค้าจากการค้าการลงทุนที่เปลี่ยนแปลง เชื่อมโยงเข้ากับห่วงโซ่คุณค่าในบริบทการพัฒนาพื้นที่ระเบียงพิเศษ การดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการสร้างโอกาสทางธุรกิจการค้าในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ดำเนินกิจกรรมในรูปแบบของการจัดอบรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างความพร้อมให้ผู้ประกอบการจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงให้มีโอกาสพัฒนาและเตรียมความพร้อมรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ด้าน ดร.เครือวัลย์ มาลาศรี นักวิจัย

มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น กล่าวว่า ได้ทำงานร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่นได้ระยะหนึ่ง เนื่องจากเป็นโครงการที่ดำเนินการพัฒนาด้วยการลงพื้นที่ซึ่งกิจกรรมแรก คือ การทำแผนร่วมกัน เพื่อสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการที่จะเข้าสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ และลงไปดูในเรื่องของการตรวจสอบความรู้เดิมของผู้ประกอบการว่ามีความเข้าใจในเรื่องของระเบียงเศรษฐกิจ ชนิดสินค้า หรือวิธีการที่จะเข้าสู่ระเบียงพาณิชย์มากน้อยเพียงใด โดยใช้วิธีการนำความรู้เข้าไปก่อนเป็นอันดับแรก และประเมินในเรื่องของวัฒนธรรม พบว่าในระดับต่าง ๆ สิ่งที่เขาต้องการและมีข้อจำกัด คือ เรื่องของความรู้ความเข้าใจ เรื่องการยกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่า และการสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ใน 3 กลุ่ม คือ เรื่องอาหารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรมูลค่าสูง ซึ่งเมื่อเขาขาดตรงนี้เราก็รู้ว่าถ้าเราจะ matching ในส่วนของผู้ประกอบการเพื่อให้เขามีโอกาสในการแสดงศักยภาพของเขาก็ควรจะจัดในเรื่องของกิจกรรมเพื่อให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองและให้เขากลับไปพัฒนาและนำสิ่งที่พัฒนาแล้วกลับมาสร้างเครือข่าย ซึ่งการสร้างเครือข่ายจะทำให้เขารู้ว่าข้อจำกัดของเขาจะต้องไปเติมเต็มและเดินไปหากลุ่มที่จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องอะไรบ้างและทางมหาวิทยาลัยของเราจึงได้สร้างโอกาสนี้ให้เกิดขึ้น

ทั้งนี้ จังหวัดขอนแก่นเป็นลำดับที่ 1 ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ลำดับที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และลำดับที่ 16 ของประเทศ และในส่วนของโครงการที่ขับเคลื่อนเพื่อต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดขอนแก่น อาทิเช่น 1. โครงการวิจัยรถไฟฟ้ารางเบา โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น 2. การรับรองเป็นเมือง MICE City เมืองแห่งการจัดประชุม สัมมนาและการจัดนิทรรศการเป็นเมือง MICE Cry แห่งที่ 5 ของประเทศ จาก ทั้งหมด 4 จังหวัด/เมือง 3. การพัฒนาและส่งเสริม Wellness Hub เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ 4. อุตสาหกรรมการบิน จากการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ 5. การพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง ไทย – จีน เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค (ช่วงกรุงเทพฯ – หนองคาย)

ข่าว : ทัศนีย์ เรืองวงศ์วิทยา
กราฟิก : มัตติกา สีระวัลย์
ภาพ : คณะทำงาน