#เบาะยางพาราบนรถไฟลายแคนแก่นคูนผลงานสุดเจ๋งเทคนิคไทยเยอรมัน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น หรือ เทคนนิคไทย – เยอรมัน ใช้ยางพาราร้อยเปอร์เซ็นต์ทำเบาะรางรถไฟใช้ผ้าลายแคนแก่นคูนหุ้มเบาะสร้างอัตตลักษณ์เมืองขอนแก่น ประเดิมรถรางที่เทศบาลเมืองฮิโรชิม่า ประเทศญีปุ่น ส่งมอบให้เทศบาลนครขอนแกน ซึ่งจะมาถึงขอนแก่น กลางเดือน มีค.นี้

จากการเปิดเผยของ ดร.พันธกานต์ แก้วอาสา อาจารย์สาขาวิชาเคมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ได้กล่าวถึงการพัฒนาเบาะนั่งจากยางพารา สืบเนื่องจากเบาะนั่งที่ใช้กันในปัจจุบันทำมาจากฟองน้ำสงเคราะห์ ซึ่งมีอายุการใช้งานได้ไม่นานฉีกขาดง่าย ต้องซ่อมแซมบ่อยๆ นอกจากนี้ยังมีการยุบตัวไม่ดีและไม่สม่ำเสมอกันเมื่อใช้ไปในระยะเวลานานๆ ก็จะเกิดการยุบตัวแล้วไม่กลับคืนสู่สภาพเดิมทำความสะอาดยาก

ดังนั้นคณะผู้ทำโครงการนี้ จึงได้จัดทำโครงการวิจัยนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาเบาะนั่งยางพาราสำหรับระบบรางโดยนำวัสดุธรรมชาติคือน้ำยาง พารามาพัฒนาและขึ้นรูปเป็นเบาะนั่งบนรถไฟ เนื่องจากยางพารามีคุณสมบัติในการลดหรือกระจายแรงกดยืดหยุ่นดีสามารถนำมาขึ้นรูปเป็นเบาะได้และใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำ

อีกทั้งยางพารายังเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับ 2 ของ ประเทศ และมีปริมาณมากดังนั้นการนำยางพารามาแปรรูปเป็นเบาะนั่งบนรถไฟได้ จึงถือเป็นอีกผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ช่วยส่งเสริมการแปรรูปยางพารารวมทั้งส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราและช่วยแก้ปัญหาน้ำยางล้นตลาดได้อีกด้วย

สำหรับเบาะนั่งยางพารา ได้ทดลองนำร่อง รถรางที่เทศบาลเมืองฮิโรชิม่า ประเทศญีปุ่น ส่งมอบให้เทศบาลนครขอนแกน ซึ่งจะมาถึงขอนแก่น กลางเดือน มีค.นี้ จะใช้ผ้าลายแคนแก่นคูนผ้ามัดหมี่ลายประจำจังหวัดหุ้มเบาะเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้จังหวัดขอนแก่น ตอกย้ำ ขอนแก่นนครมัดหมี่โลกอีกด้วย

และนี่คือผลงานวิชาการชั้นเยี่ยม ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น หรือ เทคนนิคไทย – เยอรมัน ร่วมมือกับชุมชน ในลักษณะทวิภาคี เพื่อให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ตอบโจทย์การเป็นสถาบันการศึกษาพัฒนาบุคคลากรรองรับระบบรางอย่างครบวงจร