นักศึกษาราชมงคลขอนแก่น คว้า 2 รางวัลรองดีเด่นระดับชาติ ในการประกวดโครงงานสหกิจศึกษาฯ ระดับชาติปี 2565 รองแชมป์ 2 สมัยซ้อน

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565 นักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เข้ารับรางวัลรางวัล CWIE ดีเด่นระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2565 งาน “วันสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน (CWIE DAY)” ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ.2565 ซึ่งนักศึกษา มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ได้รับรางวัลรองดีเด่นระดับชาติ จำนวน 2 รางวัล จากรางวัลทั้งหมด 6 รางวัล โดยมี ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้มอบรางวัล ณ BBS Auditorium ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี ประกอบด้วยนางสาวอรัญญา ถนอมศิลป์ นักศึกษาสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโครงงานและผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานระดับชาติประจำปีการศึกษา 2565 *รางวัลรองดีเด่นระดับชาติ* ประเภทนักศึกษาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานที่มีโครงงานและผลการปฏิบัติงานด้านสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์และการจัดการดีเด่น ชื่อผลงาน การขยายช่องทางการตลาดของแบรนด์วีอิ้ง (VING) เพื่อเพิ่มยอดขายบนช่องทางซุปเปอร์สปอร์ตออนไลน์ โดยมี อาจารย์ ดร. อารีรัตน์ เชื้อบุญเกิด โนท และ ผศ.นัฏพร จิรเจษฎา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และมีคุณวาที วิเชียรนิตย์ กรรมการผู้จัดการสถานประกอบการ บริษัท วีอิ้ง อินเตอร์เทรด จำกัด เป็นที่ปรึกษานายพงศ์ราม ประทุมชมภู นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโครงงานและผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานระดับชาติประจำปีการศึกษา 2565 *รางวัลรองดีเด่นระดับชาติ* ประเภทนักศึกษาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานที่มีโครงงานและผลการปฏิบัติงานด้านนวัตกรรมดีเด่น ชื่อผลงาน การออกแบบและสร้างชุดป้อนสายไฟและชุดวางม้วนสายไฟแบบแบน โดยมี อาจารย์ ดร.กันตภณ เปรมประยูร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และมีคุณนัธทวัฒน์ เจตพินิฐสกุล จากสถานประกอบการ บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนท จำกัด มหาชน เป็นที่ปรึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน หรือ CWIE ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของ Curriculum Redesign และ New Learning Platform เป็นการสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บัณฑิตร่วมออกแบบหลักสูตรและกำหนดสมรรถนะ (Co-design) สร้างความสมดุลและเชื่อมโยงทฤษฎีกับการปฏิบัติ (Theory-Practice) ความรู้และประสบการณ์ (Knowledge -Experience) และสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการ (University-Workplace Engagement) ที่สำคัญ คือ การเชื่อมกับการได้งานทำ (Job Creation) เมื่อจบการศึกษาก็สามาถทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ทันทีหรือใช้ประสบการณ์ที่ได้รับไปสร้างธุรกิจของตนเอง ซึ่งนักศึกษาที่ไม่เข้าเรียน CWIE จะไม่มีโอกาสดังกล่าว”

ข่าว : ศันสนีย์ ไชยเพีย
กราฟิก : พิมพ์ฤทัย ชัยวิเศษ

https://www.facebook.com/Rmutikhonkaen/posts/5221822421217737