ราชมงคลขอนแก่น ชื่นชมนักศึกษาครีเอท STAUBI ไดโนเสาร์มิตรภาพ ไทย – เยอรมัน

🔷🔸 ราชมงคลขอนแก่น ชื่นชมนักศึกษาครีเอท STAUBI ไดโนเสาร์มิตรภาพ ไทย – เยอรมัน 🔹🔶

✨ โครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันทั้งในและต่างประเทศ กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนความรู้อาจารย์และนักศึกษาชาวต่างประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณาจารย์ นักศึกษา Carl-Severing- Berufskolleg, (CSB) Bielefeld Germany ซึ่งเป็นโครงการฯ ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาแล้ว 9 ปี โดยผลงานบริการวิชาการในปีนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายและเป็นประเด็นที่โลกเรากำลังเผชิญกับสภาพอากาศและ PM 2.5 จึงนำไปสู่การสร้างชุดตรวจสอบสภาพอากาศเพื่อโลกนี้ที่ยั่งยืน ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านโคกสูงและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยเสือเต้น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แต่มีความน่ารักของศิลปะและผลงานที่แฝงอยู่ที่ชุดตรวจสอบสภาพอากาศ นั้นคือผลงานนางสาวอาริชา ชามนตรี และนายกิตติพงษ์ พาบุดดา สาขาวิชาระบบสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในครั้งนี้

🌱 โดยอาจารย์ ดร.อารีรัตน์ เชื้อบุญเกิด โนท คณบดีคณะบริหารธุรกิจฯ มอบ อาจารย์ทรรศนีย์ สมดวง นำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อทำในส่วนของแดชบอร์ด ออกแบบหน้าจอที่จะแสดงผลให้บุคคลทั่วไปได้ดู ซึ่งผู้บริหารและคณาจารย์ คณะบริหารธุรกิจฯ เล็งเห็นความสำคัญของกิจกรรมว่ามีความน่าสนใจและเป็นการสร้างสิ่งประดิษฐ์ นำลงพื้นที่ใช้ประโยชน์จริง และต้องการให้นักศึกษานำความรู้เรื่องการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและการออกแบบ UXUI ที่เรียนมานั้นใช้ประโยชน์ และต้องการสร้างประสบการณ์นอกห้องเรียนให้นักศึกษา เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการทำงานกับนักศึกษาต่างชาติ

🏷 STAUBI อ่านว่า สเตาบี่ หรือสเตาบี้ ภาษาเยอรมันคือ STAUB เติมไอให้มันเป็นบี่ แปลว่าฝุ่น นางสาวอาริชา ชามนตรี เปิดเผยว่าช่วยกันตั้งชื่อร่วมกับ นักศึกษา CSB แนวคิดคือการออกแบบการ์ตูนให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่จะไปติดตั้งชุดตรวจสอบสภาพอากาศคือศูนย์เด็กเล็ก เลือกเป็นการ์ตูนไดโนเสาร์เพราะว่าเป็นสัญลักษณ์จังหวัดขอนแก่น การ์ตูนจะมี 5 สี ตามสภาพอากาศแล้วเน้น STAUBI ถือธงสองประเทศเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งสองสถาบันฯ

⚡ ในส่วนของภาพที่ออกแบบเพื่อยิงเลเชอร์ให้เป็นฐานติดตั้งชุดตรวจสอบสภาพอากาศนั้น วงกลมสีฟ้าหมายถึงสภาพอากาศ วงกลมที่เขียนคือสังคมเมือง วงกลมสีแดงหมายถึงพื้นที่มลพิษ วงกลมสีเหลืองเป็นสื่อที่แสดงถึงถึงนวัตกรรมที่เราสร้างขึ้นเพื่อช่วยสังคม ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงในการออกแบบ แบ่งงานให้เพื่อนคือ นายกิตติพงษ์ พาบุดดา เขียนโค้ดตามที่ตนออกแบบ จึงสำเร็จเป็นชิ้นงานและได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์อภิศักดิ์ หาญพิชาญชัย ยิงเลเชอร์รูปภาพก่อนนำไปประกอบเป็นฐานชุดตรวจสอบสภาพอากาศ และยังจารึกชื่อของนักศึกษาทั้งสองสถาบันที่ร่วมกันทำกิจกรรม ความสำเร็จครั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ประสาน เอื้อทานที่เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่นักศึกษา สาขาระบบสารสนเทศฯ ความรักความผูกพันในการทำกิจกรรมนำมาสู่การจัดทำของที่ระลึกเป็นงานดราฟภาพให้คณาจารย์และนักศึกษา CSB ในชุดไทยเพื่อสร้างความประทับใจและถือเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ได้เป็นอย่างดี เป็นความตั้งใจอย่างที่สุดของนักศึกษาไทยที่จัดหาของที่ระลึกให้เพื่อน กิจกรรมครั้งนี้แม้ระยะเวลาจะเพียงน้อยนิดแต่สัมพันธภาพมิตรภาพของการทำกิจกรรม ตลอดจนการบูรณาการวิชาการองค์ความรู้ของทั้งสองสถาบันฯ และประสบการณ์นอกห้องเรียนนั้นล้วนมีคุณค่าและเป็นความทรงจำที่ดีของคณาจารย์และนักศึกษาไทย รวมถึงคณาจารย์และนักศึกษา CSB

🖋 ข่าว : ทัศนีย์ เรืองวงศ์วิทยา
ภาพ : อาจารย์อภิศักดิ์ หาญพิชาญชัย
กราฟิก : รัตนาวดี ประกายแก้ว

https://www.facebook.com/Rmutikhonkaen/posts/pfbid06ZjfmDYAASRKSwpCLyzndWLToCCM69h1JvzXXRubjfQsz4xcEyLtsuTBs7m24yFRl